1621 จำนวนผู้เข้าชม |
การบำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับการชุบแข็ง บริษัท เค.ดี.ฮีท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อที่จะสามารถใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นงานอย่างการชุบแข็ง เครื่องจักรถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตชิ้นงาน ส่วนประกอบต่างๆภายในเครื่องจักรที่ทำให้เกิดพลัง ในส่วนประกอบของเครื่องจักรสำหรับการชุบแข็ง มีส่วนประกอบภายในหลัก เช่น Jig, Coil การการให้ความร้อน ดังนั้นการดูแลรักษาเครื่องจักร และงานซ่อมบำรุงเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราจึงต้องถนุบำรุงให้เครื่องจักรนั้นสามารถใช้งานได้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อติดขัดในระหว่างการใช้งาน ความไม่พร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต ทำให้การผลิตงานไม่มีประสิทธิผลในการผลิตเท่าที่ควร ดังนั้นการเพิ่มสมรรถนะทางด้านบำรุงรักษาจึงเป็นความจำเป็นที่จะส่งผลดีต่อลูกค้าทุกท่าน
บริษัท เค.ดี.ฮีท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ให้บริการการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแบบครบวงจร เรามีทีมช่างที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านงานซ่อมเครื่องจักร ติดตั้ง ซ่อมแซม ถอด ประกอบ รวมไปถึงการ Repair ส่วนประกอบต่างๆภายใน ดังนั้นหากไม่มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรอาจส่งผลต่อความแม่นยำและมาตรฐานความเที่ยงตรงของเครื่องจักร จึงต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน ควบคุมมาตรฐานการทำงานให้สามารถทำงานได้แม่นยำน่าเชื่อถือ ไม่เกิดการคลาดเคลื่อน โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรควรตรวจสอบอย่างเป็นระยะ ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี
เรามีการแบ่งแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร 5 แบบดังนี้
1. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance)
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ทุกบริษัทใช้ คือการแก้ไขซ่อมแซมเมื่ออุปกรณ์เสียหายจนทำให้ต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรเกิดข้อขัดข้องในระหว่างการทำงานแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซม ซึ่งแบบนี้ส่งผลต่อการผลิตงาน
2. การบำรุงรักษาแบบเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance)
รูปแบบนี้เป็นเป็นการบำรุงรักษาตามแผน หรือระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นแผนรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เป็นต้น เป็นเหมือนการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันก่อนเกิดการเสียหายของเครื่องจักรหรือเกิดความขัดข้องในการทำงาน ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพ หากแผนการตรวจสอบครั้งนั้นมีส่วนประกอบที่มีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพลง
3. การบำรุงรักษาแบบกิจวัต (Routine Maintenance)
เป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นกิจวัตประจำวัน ตรวจสอบความเรียบร้อยเบื้องต้นเป็นประจำทุกวันก่อนการเริ่มใช้งานเครื่องจักร หากพบความผิดปกติก็จะต้องทำการแจ้งทีมวิศวทำการตรวจสอบโดยละเอียดอีกทีและทำการแก้ไขต่อไป
4. การบำรุงรักษาแบบฉุกเฉิน (Emergency Maintenance)
เป็นการซ่อมเครื่องจักรแบบฉุกเฉินหรือแบบทันทีเมื่อเครื่องจักรนั้นเกิดปัญหา กรณีนี้จะทำการซ่อมบำรุงทันทีเมื่อเครื่องจักรไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนการตรวจสอบเครื่องจักรโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกิดจากการขัดข้องของเครื่องจักร
เครื่องจักรและเครื่องใช้ทุกประเภทในโรงงานต้องมีความปลอดภัยได้มาตรฐาน เมื่อเกิดการชำรุดอาจก่อให้เกิดอุบัติอันตราย ส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานได้ ซึ่งการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานที่ดีจะช่วยควบคุมการผิดพลาดและลดการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยเครื่องจักรมีโอกาสที่จะชำรุงและขัดข้องได้อยู่ตลอดเวลาแม่ว่าจะได้รับการซ่อมแซมแล้วก็ตาม ทั้งนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุงในส่วนที่ควรได้รับการซ่อมแซม บริษัท เค.ดี.ฮีท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญมานานกว่า 20 ปี และพร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาเพื่อส่งผลที่ดีต่อการใช้งานเครื่องจักรได้อย่างไหลลื่นทำให้บริษัทสามารถทำแผนการทำงานตามที่ได้กำหนดไว้ได้
ติดตามข้อมูลข่าวสารของ K.D.HEAT TECHONOLOGY ได้ที่ :
Website - https://www.kdheat.com/
Facebook - https://www.facebook.com/kdheattechnology/?ref=pages_you_manage
Line – https://line.me/ti/p/SOq5u_2Hk1
Blockdit - https://www.blockdit.com/users/62a2cbff8d76ec3345aa8ef7
YOUTUBE – https://youtube.com/shorts/MVJtX4uWAdY
Reference: https://www.siamseimitsu.co.th/blog/precision-air-processor/5-industrial-machinery-maintenance-plans/
https://www.9longtoon.com/content/5645