758 จำนวนผู้เข้าชม |
หลักการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการยืดอายุการใช้งานเครื่องชุบแข็ง (Induction Machine)
งานบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน เป็นการดูแลชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักรให้มีโอกาศล้มเหลวในการทำหน้าที่ของชิ้นส่วนนั้นน้อยที่สุด ซึ่งการบำรุงรักษาเชิงป้องกันนี้จะต้องทำให้เครื่องจักรไม่หยุดทำงานแบบกะทันหันในขณะที่เครื่องจักรทำงานอยู่ อีกทั้งยังลดปัญหาความขัดข้องระหว่างกระบวนการผลิตได้และทำงานอย่างแม่นยำแล้ว
โดยเราจะเรียกสั้นๆว่าการ PM เครื่องจักร การบำรุงรักษาตามแผน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักร ก็คือการวางแผนในการตรวจสอบ ทำความสะอาด ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกโรงงานอุตสาหกรรม เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้น ยังทำให้โรงงานอุตสหกรรมการผลิตสามารถคงรักษาคุณภาพกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อีกด้วย
เครื่องจักรสำหรับชุบแข็งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการดูแลบำรุงรักษาเป็นพิเศษโดยอุตสาหกรรมการผลิตนั้นจะคำนึงถึงผลผลิตที่ได้ หากเครื่องจักรหยุดการทำงานไปจะส่งผลต่อยอดผลิตด้วย
ดังนั้นควรมีแผนการสำหรับการ PM เครื่องจักรในงานซ่อมและการบำรุงรักษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลักๆคือ แบ่งตามระยะเวลา (Time base) และ แบ่งตามปริมาณการใช้งาน (Usage base)
1. แผน PM ตามระยะเวลา
ในการกำหนดแผน PM โดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนดและคุณสมบัติของเครื่องจักร ซึ่งจะใช้ในการเข้าไปตรวจสอบกับชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อเครื่องจักรมากๆ ซึ่งชิ้นส่วนตัวนั้นของเครื่องจักรมีผลกระทบรุนแรงต่อเครื่องจักรมากหากเกิดปัญหาขึ้นมาถ้าหากชิ้นส่วนนี้เกิดความเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรและผลผลิตของโรงงานได้ ดังนั้นจะต้องทำการวางแผนเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้เข้าไปทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดปัญหา
ยกตัวอย่างสำหรับเครื่องจักรชุบแข็ง เช่น สมมุติเครื่องจักรชุบแข็ง 1 เครื่อง ในระยะเวลา 1 ปี เครื่องจักรชุบแข็งมีการใช้งานตลอด 6,570 ชม ก็สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาเพื่อเข้าไป ตรวจสอบและทำความสะอาดอุปกรณ์รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆภายในเครื่องจักร รวมทั้งวัดค่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นเป็นตามมาตรฐาน เป็นต้น
2. แผน PM ตามปริมาณการใช้งาน
ในการกำหนดแผน PM ตามลักษณะปริมาณการใช้งาน แบบแผน PM ที่กำหนดตามการใช้งานจริงโดยวิธีนี้จะสามารถกำหนดได้ชัดเจนมากกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักรเกิดความเสียหาย
ยกตัวอย่างสำหรับเครื่องจักรชุบแข็ง เช่น เราจะกำหนดเป็นแผนตามการใช้งานจริงว่า จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบดูแลเครื่องจักรเมื่อการใช้งานเครื่องจักรทำงานไปแล้ว 3,000 ชั่วโมง หรือ ทุก 6 เดือน เป็นต้น
บริษัท เค.ดี.ฮีท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ให้บริการการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแบบครบวงจร เรามีทีมช่างที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านงานซ่อมเครื่องจักร ติดตั้ง ซ่อมแซม ถอด ประกอบ รวมไปถึงการ Repair ส่วนประกอบต่างๆภายใน ดังนั้นหากไม่มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรอาจส่งผลต่อความแม่นยำและมาตรฐานความเที่ยงตรงของเครื่องจักร จึงต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน ควบคุมมาตรฐานการทำงานให้สามารถทำงานได้แม่นยำน่าเชื่อถือ ไม่เกิดการคลาดเคลื่อน โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรควรตรวจสอบอย่างเป็นระยะ ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี
ติดตามข้อมูลข่าวสารของ K.D.HEAT TECHONOLOGY ได้ที่ :
Website - https://www.kdheat.com/
Facebook - https://www.facebook.com/kdheattechnology/?ref=pages_you_manage
Line – https://line.me/ti/p/SOq5u_2Hk1